10/28/2007

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ชาติภูมิ
เดิมชื่อ โต เป็นบุตรของนาง งุด บิดาไม่เป็นที่ปรากฏ ตา ชื่อ ผล ยายชื่อนางลา ถือกำเนิดในแผ่นดินรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อวันพฤหัสที่ 17 เมษายน พ.ศ.2331 สัมฤทธิศก จุลศักราช 1150 เวลา ประมาณ 06.54 น. ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก เดิมแม่เป็นชาวบ้านท่าอิฐ อำเภอบ้านโพ (อำเภอเมือง*-ปัจจุบัน) จังหวัดอุตรดิตถ์

ต่อมาเกิดฝนแล้งติดต่อกันหลายปีทำนาไม่ได้ผลจึงย้ายมาอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร (และน่าจะได้พบกับพ่อของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ (โต) ณ เมืองนี้) พอตั้งท้องก็ได้ไปอยู่กับยายที่เรือนแพหน้าวัดไก่จ้น และวัดสะตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แม่งุดเมื่อคลอดเด็กชายโตแล้ว ขณะยังนอนเบาะอยู่ก็ได้ย้ายไปอยู่บริเวณวัดไชโยระยะหนึ่ง ต่อมามารดาก็ได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานไปอยู่ที่ตำบลบางขุนพรหม และสอนยืนได้ที่บริเวณ ตำบลบางขุนพรหมนี้ เมื่อโตขึ้นแม่ได้มอบตัวให้เป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณอรัญญิก เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร เพื่อศึกษาอักขรสมัย เมื่ออายุ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปีวอก พ.ศ.2342 โดยมีพระบวรวิริยเถระ (อยู่) เจ้าอาวาสวัดบางลำภูบน (วัดสังเวชวิศยาราม-ปัจจุบัน) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบรรพชาแล้วได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ ณ วัดอินทรวิหาร จนหมดความรู้ของครูอาจารย์ มีความประสงค์ที่จะศึกษาภาษาบาลีต่อท่านเจ้าคุณอรัญญิกจึงได้นำไปฝากอยู่กับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค เปรียญเอก) วัดระฆังโฆสิตาราม

สามเณรโต เป็นผู้มีความวิริยะอุตสาหะในการศึกษาเป็นอย่างดี มีวัตรปฏิบัติที่งดงามน่าเลื่อมใส จนปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงโปรดปรานมาก ทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้พระราชทานเรือกราบกัญญาหลังคากระแชงให้ท่านไว้ใช้สอยตามอัธยาศัย เมื่ออายุ 20 ปี ตรงกับปีเถาะ พ.ศ.2350 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นนาคหลวง อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุ เป็นพระอุปัชฌาย์ให้ฉายาว่า "พฺรหฺมรํสี" และเรียกว่า มหาโต ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

สมณศักดิ์
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ไม่ติดในยศศักดิ์ได้ปฏิเสธเรื่อยมาจนกระทั่งไม่สามารถหลีกได้จึงจำใจยอมรับ
- เป็นพระธรรมกิตติ สถาปนาพร้อมกับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีชวด พ.ศ.2395 ขณะอายุ 65 ปี
- เป็นพระเทพกวี เมื่อปีขาล พ.ศ. 2397
- เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) สถาปนาในคราวสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน) วัดสระเกศมรณภาพลง ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 9 ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด พ.ศ.2407 นับเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ รูปที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ในปีที่ 5 แห่งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ได้ไปดูงานก่อสร้างพระโต วัดบางขุนพรหมใน (วัดอินทรวิหารปัจจุบัน) ได้มรณภาพที่บนศาลาการเปรียญวัดบางขุนพรหมในด้วยโรคลมปัจจุบัน เมื่อวันเสาร์ ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2415 ตรงกับ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 (ต้น) ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช 1234 เวลา 24.00 น. คิดทดหักเดือนตามอายุโหราจารย์ ตามสุริยคตินิยม สิริอายุรวม 84 ปี พรรษา 64

พระคาถาชินบัญชร (ฉบับถูกต้องตรวจตามไวยากรณ์โดย พระเทพวิสุทธิเมธี (เที่ยง ป.ธ.๙) วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร)

ก่อนที่จะเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ด้วยคำว่า

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง

อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตัง สุตตะวา

อิติปิโส ภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ

มรณัง สุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

๑. ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง

จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุง นะราสะภา

๒. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา

สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา.

๓. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน

สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.

๔. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ

โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.

๕. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุลา

กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.

๖. เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโยวะ ปะภังกะโร

นิสินโน สิริสัมปันโน โสภีโต มุนิปุงคะโว.

๗. กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก

โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร.

๘. ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลีนันทะสีวะลี

เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ติละกา มะมะ.

๙. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา

เอตาสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา

ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

๑๐. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง

ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง.

๑๑. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง

อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา.

๑๒. ชินาณาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะลังกะตา

วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา.

๑๓. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา

วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

๑๔. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮีตะเล

สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.

๑๕. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข

ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว

ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโค

สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย

สัทธัมมานุภาวะปาลิโต

จะรามิ ชินะปัญชะเรติ ฯ

(ชินะปัญชะระคาถา นิฏฐิตา)

อ้างอิงจาก
1. http://www.watindharaviharn.org/
2. http://www.dhammajak.net/
3. http://www.jarun.org/

No comments: