12/07/2007

พระมงคลวิสุทธิ์ (หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล)



หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ปีวอก พุทธศักราช 2439 (ตรงกับวันที่ 17 กันยายน พุทธศักราช 2439) ที่ บ้านคำบ่อ ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัด สกลนคร โยมบิดา คือ ขุนพลภักดี ผู้ใหญ่บ้าน คำบ่อ ชื่อเดิม คือ นายพล วงศ์ภาคำ โยมมารดา ชื่อ นางสอ วงศ์ภาคำ มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน คือ
1. นางสี วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
2. นายเสน วงศ์ภาคำ (บวชเป็นพระภิกษุ - มรณภาพ)
3. นางผม วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
4. นางเกตุ วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
5. นายจันทร์เพ็ง วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
6. หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล
7. นางมาลีจันทร์ วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
8. นางกา วงศ์ภาคำ (ยังมีชีวิตอยู่)

หลวงปู่สุภา เป็นลูกชายคนสุดท้องของครอบครัว เมือตอนเป็นเด็กท่านอ้วนท้วนสมบูรณ์ผิวขาว หน้าตาน่ารักน่าชัง ท่านใช้ชีวิตอย่างเช่นเด็กทั่ว ๆ ไปในสมัยนั้น คือ เที่ยววิ่งซุกซนไปตามประสา จะมีโอกาสเรียนเขียนอ่านก็ต่อเมื่อพ่อแม่พาไปฝากวัดให้พระท่านสอน หรือไม่ก็ให้พ่อแม่ญาติผู้ใหญ่ ที่รู้หนังสือสอนให้ วัดจึงนับเป็นสถานที่แห่งเดียวที่เด็กชายจะสามารถไปแสวงหาความรู้เช่นเดียวกัน คนอีสานส่วนใหญ่ในสมัยนั้นคือ มักจะให้ลูกบวชเป็นสามเณร

เมือหลวงปู่สุภาอายุได้ 7 ขวบ วันหนึ่ง ในขณะที่ท่านและเพื่อนๆ ออกไปวิ่งเล่นที่ริมทุ่งชายป่าได้พบ กับพระธุดงค์รูปหนึ่งมาปักกลดพักอยู่ใต้ต้นตะแบกใหญ่ เด็กคนอื่นๆ ที่เห็นพระรูปนั้นไม่ได้สนใจ ต่างพากันวิ่งเล่นกันต่อ เว้นไว้แต่เด็กชายสุภา ซึ่งมีจิตใจโน้มมาทางธรรมตั้งแต่อายุยังน้อยจะเห็นได้ จากการที่ชอบเข้าใกล้พระ ชอบไปวัดดังนั้น เมื่อท่านเห็นพระธุดงค์รูปนั้นปักกลดพักอยู่ก็แยกตัว ออกจากเพื่อนๆ ตรงเข้าไปกราบ เมื่อพระภิกษุชราที่นั่งพักอยู่ภายใจกลดเห็นเด็กชายหน้าตาน่ารัก เข้ามากราบอย่างสวยงาม เหมือนกับได้รับการสั่งสอนมาเป็นอย่างดี จึงมองเด็กน้อยคนนั้นด้วยความ เมตตา เพ่งดูลักษณะอยู่ครู่เดียวจึงบอกเด็กน้อยว่า ต่อไปภายหน้าจะได้บวช เมื่อบวชแล้วอย่าลืมไปหา ท่าน พระภิกษุรูปนี้ คือ หลวงปู่สีทัตต์ จำพรรษาอยู่ที่วัดท่าอุเทน จังหวัดนครพนมนั่นเอง แต่ในเวลา นั้น เด็กชายสุภายังไม่ได้นึกอะไร ได้แต่นั่งคุยกับหลวงปู่สีทัตต์ครู่หนึ่ง จึงนมัสการกราบลาไปวิ่งเล่น กับเพื่อนๆ ต่อ

หลังจากได้พบกับหลวงปู่สีทัตต์ที่ชายป่าในครั้งนั้นแล้วเป็นเวลา 2 ปี บิดามารดาของหลวงปู่ได้ ตกลงใจให้หลวงปู่ซึ่งเป็นลูกชายคนสุดท้องบวชเป็นสามเณร ในขณะที่ท่านอายุได้ 9 ขวบ โดยมี พระอาจารย์สวน เจ้าอาวาศวัดแห่งหนึ่งในหมู่บ้านตำบลคำบ่อเป็นพระอุปัชฌาย์

สามเณรสุภาได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอาจารย์สวนอยู่เป็นเวลา 1 ปี หลังจากนั้น ในปี พุทธศักราช 2449 ท่านได้เดินทางไปเรียนมูลกัจจายน์ 5 เล่ม ที่วัดไพรใหญ่ จังหวัด อุบลราชธานี ที่นั่นมีอาจารย์สอนมูลกัจจายน์อยู่ 2 ท่าน คือ พระอาจารย์พระมหาหล้า และอีกท่าน เป็นฆราวาส ชื่อ อาจารย์ลุย สามเณรสุภาได้ใช้เวลาศึกษามูลกัจจายน์ 5 เล่มอยู่ที่วัดไพรใหญ่เป็น เวลานานหลายปีกว่าจะจบมูลกัจจายน์ 5 เล่ม เมื่อจบหลักสูตรแล้ว ก็มีความคิดที่จะหาความรู้ เพิ่มเติมจึงได้กราบลาอาจารย์ออกจากวัดไพรใหญ่ โดยที่ขณะนั้นได้ทราบข่าวว่ามีพระอาจารย์รูป หนึ่งเก่งทางวิปัสสนาและทรงวิทยาคมอยู่ที่วัดท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม มีชื่อว่า พระอาจารย์สีทัตต์ สามเณรสุภาจึงนึกขึ้นได้ว่า เคยได้ยินชื่อนี้มาครั้งหนึ่งแล้ว และจำได้ว่าเคยกราบ ท่านที่ใต้ต้นตะแบกเมื่อตอนเป็นเด็กๆ และท่านยังสั่งไว้ว่าเมื่อบวชแล้วให้ไปหาท่าน ในครั้งนั้น สามเณรสุภาอายุใกล้ครบอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว จึงออกเดินทางไปนมัสการหลวงปู่สีทัตต์ที่ วัดท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนนครพนม ขณะนั้น หลวงปู่สีทัตต์อายุมากแล้ว ท่านเป็นพระป่า ที่มีชื่อเสียงมากทางวิปัสสนากรรมฐาน ขณะที่สามเณรสุภาเดินทางไปพบ หลวงปู่สีทัตต์กำลังก่อสร้าง พระธาตุอยู่องค์หนึ่ง คือ พระธาตุท่าอุเทนในปัจจุบัน หลวงปู่สีทัตต์ได้รับสามเณรสุภาไว้เป็นศิษย์ด้วย ความยินดี นับว่าหลวงปู่สีทัตต์ เป็นอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานองค์แรกของหลวงปู่สุภา

สามเณรสุภา ได้เริ่มฝึกกรรมฐานและออกธุดงค์เป็นกิจจะลักษณะกับหลวงปู่สีทัตต์ ซึ่งได้พาสามเณร สุภาออกธุดงค์ข้ามไปฝั่งลาว เพราะวัดพระธาตุท่าอุเทนนั้น อยู่ในเขตจังหวัดนครพนมใกล้กันกับ แม่น้ำโขง สมัยนั้นการเดินทางไปมาสะดวก อีกทั้งยังอุดมสมบูรณ์อยู่มาก มีภูเขา ป่าไม้และถ้ำมากมาย ผู้คนศรัทธาในพระพุทธศาสนาบ้านเมืองสงบร่มเย็นดี ไม่วุ่นวายเหมือนในปัจจุบันพระสงฆ์ทั้งไทยและ ลาวจึงมักจะธุดงค์ไปปฏิบัติธรรมอยู่กับพระลาวที่เก่งทางวิปัสสนา หลวงปู่สีทัตต์เองก็ได้พาสามเณรสุภา ไปธุดงค์ฝั่งลาวอยู่เสมอ ๆ ที่ชอบไปพักมากที่สุด คือ ถ้ำขนาดใหญ่แห่งหนึ่งสวยงามน่าอยู่ ในถ้ำนั้นมี เขาควายใหญ่วางอยู่คู่หนึ่ง ยาวข้างละประมาณ 8 ศอก มีภูเขาลักษณะโค้งงอนเหมือนกับเขาควาย ชาวบ้านฝั่งลาวจึงเรียกว่า ถ้ำภูเขาควาย ในถ้ำแห่งนี้มีพระสงฆ์ไปปฏิบัติธรรมกันมาก บางครั้งก็อยู่กัน คราวล่ะหลายรูป บางปีก็มีพระสงฆ์ไทยไปจำพรรษาอยู่เช่นกัน เนื่องจากในสมัยนั้น สร้างวัดกันได้ ง่ายกว่าในปัจจุบันไม่ว่าจะฝั่งไทย ฝั่งลาว ส่วนใหญ่วัดตามป่าตามเขาไม่ต้องขอวิสุงคามวาสี ก็ สามารถสร้างเป็นวัดได้

สามเณรสุภาได้ติดตามหลวงปู่สีทัตต์ไปธุดงค์จนอายุครบอุปสมบท ในปีพุทธศักราช 2459 หลวงปู่จึงได้อุปสมบทให้สามเณรสุภาภายในถ้ำภูเขาควายนั้น โดยท่านเองเป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระเถระที่ไปปฏิบัติธรรมอยุ่ที่ถ้ำภูเขาควาย เป็นพระกรรมวาจารย์และอนุสาวนาจารย์ รวมทั้งพระนั่งอันดับสามเณรสุภาได้รับฉายาว่า กนฺตสีโล

ที่ถ้ำภูเขาควายนั้น จะมีพระวิปัสสนาจารย์ที่รอบรู้ในสรรพวิชาไปพักปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก หลวงปู่สีทัตต์ต้องการให้ลูกศิษย์ท่านได้มีโอกาศรู้จักกับพระวิปัสสนาจารย์เหล่านั้น เพื่อจะได้ศึกษา วัตรปฏิบัติของท่าน หลังจากอุปสมบทแล้วก็ปฏิบัติธรรมอยู่ต่อไปอีกระยะหนึ่ง จากนั้น ท่านก็ติดตาม หลวงปู่สีทัตต์ซึ่งกลับมาจำพรรษาที่วัดพระธาตุท่าอุเทน เพื่อดำเนินการสร้างพระธาตุเมื่อมีเวลาว่าง หลวงปู่จะพาลูกศิษย์รวมทั้งพระสุภาออกธุดงค์อีกเช่นนี้ ไปจนกระทั่งสร้างพระธาตุท่าอุเทนเสร็จ เรียบร้อย

พระภิกษุสุภาได้พำนักอยู่กับหลวงปู่สีทัตต์เป็นเวลานานถึง 8 ปี โดยศึกษาพระปริยัติธรรมทั้ง 5 และปฏิบัติวิปัสสนากรรฐาน ท่านได้ใช้เวลา 4 ปีแรก ศึกษาพระคัมภีร์ปริยัติทั้ง 5 และการ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อขึ้นปีที่ 5 หลวงปู่สีทัตต์ได้แนะให้ท่านออกธุดงค์ ในครั้งแรก อนุญาตให้มีเพื่อนติดตามอีก 3 รูป โดยมี 2 รูปเป็นพระอีกรูปเป็นสามเณร เดินธุดงค์ออกจาก ถ้ำภูเขาควายขึ้นไปทางผาต้อหน่อคำ แขวงคำม่วน อำเภอเซโปน จังหวัดเซโปน ประเทศลาว เพื่อทดสอบสมาธิและอุปนิสัยของพระภิกษุสุภา จนกระทั่งเห็นว่าท่านมีสมาธิแน่วแน่ในการปฏิบัติ ธรรมและวิปัสสนากรรมฐานดีแล้ว

หลวงปู่สีทัตต์ตั้งใจอบรมสั่งสอนทั้งทางด้านวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาอาคมต่างๆ รวมทั้งสอน วิชา วิธีถอดกายทิพย์ ให้ด้วย จนถึงขั้นจะให้เรียนภาษานกได้รู้เรื่อง แต่ท่านได้พิจารณาดูวัตร ปฏิบัติของท่านแล้ว เห็นว่าชอบออกธุดงค์มากกว่าจึงขอออกธุดงค์ ไม่ได้เรียนภาษานก ก่อนออก ธุดงค์ หลวงปู่สีทัตต์ ได้แนะและอบรมสั่งสอนท่านไปว่า - ไปให้ดีนะลูกนะ เดินให้สม่ำเสมอ อย่าเร็ว อย่าช้า ให้ค่อยไป ให้ค่อยมา โบราณเขาว่าอยากถึงเร็วให้คลาน อยากถึงนานให้วิ่ง -

เมื่อปีพุทธศักราช 2463 พระภิกษุสุภาได้กราบลาหลวงปู่สีทัตต์เพื่อออกธุดงค์วัตร และออกจากถ้ำ ภูเขาควายไปตามทางที่หลวงปู่สีทัตต์ได้เมตตาแนะนำ คือ ให้วิ่งจากถ้ำภูเขาควายไปท่าเดื่อ และจาก ท่าเดื่อไปหนองคาย ให้ไปสละธุดงค์ที่หนองคาย พร้อมทั้งแนะนำว่า อย่าเดิน เพราะจะช้าเกินไป เรียนอะไรจะไม่จบ และยังชี้แนะอีกว่าจะได้พบอาจารย์ที่เก่งมากองค์หนึ่งหากแต่ไม่ได้บอกว่าเป็น ผู้ใด

พระภิกษุสุภาออกเดินทางไปตามเส้นทางที่หลวงปู่สีทัตต์แนะนำ พอถึงหนองคาย ก็ออกธุดงค์ และให้เดินทาง ไปทางเหนือจะได้พบกับ พระอาจารย์องค์หนึ่งที่มี ความเชี่ยวชาญด้านกสิณและ วิชา แปดประการ มีอภิญญาสูงมาก พระภิกษุสุภาได้วิชาอาคมจากท่าน และนั่ง รถยนต์เข้ากรุงเทพฯ เพื่อให้ทันเวลาตามที่หลวงปู่สีทัตต์ได้บอกไว้ เมื่อมาถึงกรุงเทพฯ ท่านก็ได้ ถามหาเกจิอาจารย์ที่สามารถสอนทางพุทธศาสตร์ที่ลึกลับ ลึกซึ้ง หรือสอนทางวิปัสสนากรรมฐาน มีคนเล่าลือว่ามี อาจารย์ศุข (หลวงปู่ศุข เกสโร) อยู่ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ท่านจึง ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ เดินทาง นั่งรถบ้างจนถึง จังหวัดชัยนาทตามที่หลวงปู่สีทัตต์ได้บอกท่าน ก่อนกราบลาจากถ้ำภูเขาควาย

เมื่อเดินทางไป ที่วัดอู่ทอง พอเห็นกุฏิ หลวงปู่ศุข ก็จะขึ้นไปนมัสการ ก็ได้รับคำทักทาย ว่า...มาถึงแล้วหรือพ่อเณรน้อย กำลังรออยู่ พอดี ล้างเท้าแล้วขึ้นมาเห็นหน้าเห็นตา กันหน่อย

มีแต่ เสียงทักทายที่นอกชาน แต่เมื่อมองขึ้นไปไม่เห็นใคร จึงได้คิดในใจว่า... นี่คือพลังปราณผู้ที่สำเร็จ สามารถออกเสียงให้ดังค่อย หรือไกลใกล้แค่ไหน ก็ได้ หรือว่าท่านมีพลังในการโปร่งแสง (หายตัวได้) (ในช่วงที่หลวงปู่สุภาไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ศุขนั้น กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ?เสด็จเตี่ย? ได้ศึกษาวิชาจาก หลวงปู่ศุข จบและเดินทางเข้ากรุงเทพฯก่อนหน้านี้ประมาณ 4 ปี)

ท่านได้คลานเข้าไปกราบหลวงปู่ศุขซึ่งขณะนั้นท่านทราบแล้วว่าจะมีพระภิกษุมาจากประเทศลาว จึงถามท่านว่ามาจากประเทศลาวใช่หรือไม่ ท่านจึงตอบรับและกราบเรียนว่า มีความประสงค์จะมาขอให้หลวงปู่อนุเคราะห์ให้ท่านได้อยู่ศึกษา เล่าเรียนด้วย หลวงปู่ศุขจึงรับพระภิกษุสุภาไว้เป็นศิษย์ ท่านพำนักอยู่กับหลวงปู่ศุขเป็นเวลา 3 ปี ได้ศึกษาวิชาต่างๆ ที่หลวงปู่ศุขได้ถ่ายทอดให้ หลวงปู่ศุขเองก็ได้ให้ความรัก ความเมตตาต่อลูกศิษย์ ท่านเป้นอย่างมาก ถึงแม้พระภิกษุสุภาได้บวชเรียนเป็นพระภิกษุมานานเกือบ 4 พรรษาแล้วก็ตาม แต่หลวงปู่ศุขก็ยังคงเรียกท่านว่า เณรน้อย เช่นเดียวกับหลวงปู่สีทัตต์เคยเรียก หลวงปู่ศุขย้ำเสมอว่า พระภิกษุสุภาคือ เณรน้อย ลูกศิษย์สุดท้องของท่านเนื่องจากในขณะที่พระภิกษุสุภาเริ่มเข้าไปกราบ หลวงปู่ศุขนั้น ท่านอายุมากแล้วแต่ยังขยันปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิเป็นเวลานานๆ ทุกวัน พระภิกษุ สุภามีความเคารพนับถือและรักใคร่หลวงปู่ศุขอย่างยิ่งเช่นกัน หลวงปู่ศุข จึงนับเป็นพระอาจารย์องค์ ที่ 2 ของท่านต่อจากหลวงปู่สีทัตต์

หลวงปู่ศุขเป็นพระที่มีชื่อเสียงมาก มีผู้คนไปกราบนมัสการมิได้ขาด ด้วยความศรัทษารักท่านเป็น เสมือนพระผู้วิเศษเฉกเช่นเทพเจ้า เป็นที่เคารพบูชาของคนทุกชนชั้น ตั้งแต่เจ้านายลงมาถึงไพร่ หลวงปู่ศุขประสิทธิ์ประสาทวิชาต่างๆ ให้พระภิกษุสุภา เมื่อหลวงปู่ศุขท่านนั่งกรรมฐานท่านก็นั่ง กรรมฐานไปด้วย หากติดขัดปัญหาธรรมที่ใด ก็ไปกราบเรียนถาม ท่านก็เมตตาแนะนำให้ทุกครั้ง วิธีการสอนของหลวงปู่ศุข ไม่ได้สอนแบบสำนักที่เปิดสอนกันทั่วไป ส่วนใหญ่ ท่าจะปฏิบัติให้ดูเป็น ตัวอย่าง แล้วให้ลูกศิษย์ ศึกษาทำความเข้าใจเอาเอง

ในเรื่องเกี่ยวกับวิทยาคมนั้น ท่านค่อยๆ ศึกษาดูว่า หลวงปุ่ศุขทำอย่างไร ส่วนใหญ่พวกลูกศิษย์ที่ ศึกษาอยู่กับท่าน ต้องช่วยท่านอยู่แล้ว ในเวลาที่ท่านปลุกเสก ก้ได้ไปคอยสังเกต พระคาถาต่างๆ หลวงปู่ศุขก็สอนให้บ้าง จดจำเองบ้าง และไปขอท่านบ้าง อย่างไรก็ตาม ไม่มีลูกศิษย์คนใด จะปฏิบัติ จนบรรลุได้เหมือนหลวงปู่ศุข บางครั้ง เวลาลงยันต์ทำตะกรุดต้องลงไปทำใต้ท้องน้ำ ไม่มีใครเห็น จะเห็นได้ก็ต่อเมือตอนท่านขึ้นมาจากน้ำแล้ว

พระภิกษุสุภา ได้ปฏิบัติธรรมอย่างขยันหมั่นเพียรตลอดเวลากับหลวงปู่ศุข ไม่ค่อยได้คลุกคลีกับ ใคร ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือกับพระภิกษุด้วยกันเพราะหลวงปู่ศุขไม่ชอบให้วุ่นวาย ท่านจึงมุ่ง แต่ปฏิบัติไหว้พระสวดมนต์ นั่งสมาธิ พวกลูกศิษย์ก็ไหว้พระพร้อมกับหลวงปู่ศุข ซึ่งท่านได้ให้ โอวาททบทวนธรรมะ หากมีข้อขัดข้อง ก็ถามท่านได้ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติขั้นตอนใด ท่านจะ แนะนำให้จนกระทั่งได้เวลาพอสมควร ท่านก็กลับไปทำกิจของท่าน ลูกศิษย์อื่นต่างก็แยกย้ายกัน ไปพัก และ ปฏิบัติต่อเอง นอกจากนี้ พระภิกษุสุภา ยังคอยสังเกตเรื่องวิทยาอาคม จากการอ่าน ตำราที่ท่านเที่ยวจดเที่ยวเขียนไว้บ้าง ดูจากกรรมวิธีที่ท่านทำบ้าง เรียนถามท่านบ้าง ท่านก็แนะนำ ให้ตามสมควรใครสนใจมากก็ได้ไปมาก ใครไม่สนใจก็ไม่ได้อะไรไปเลย แต่ส่วนใหญ่ หลวงปู่ศุข จะเน้นเรื่องการรักษาศีลและการปฏิบัติมากกว่า เพราะท่านสอนว่าถ้า ศีลบริสุทธิ์ คุณวิเศษต่างๆ ก็จะมีมาเอง พระภิกษุสุภา กนฺตสีโล ได้ศึกษาธรรมและวิทยาคมต่างๆ กับหลวงปู่ศุขที่วัดปากคลอง มะขามเฒ่าเป็นเวลากว่า 3 ปี ถือได้ว่าเป็น 3 ปีที่มีค่าที่สุดในชีวิตเพระาได้ความรู้ต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะความรู้ในทางธรรมและวิทยาคมต่างๆ ครั้งนั้น มีพระภิกษุไปปฏิบัติธรรมและเรียนวิชาอยู่ กับหลวงปู่ศุขด้วยกันประมาณ 30-40 รูป ซึ่งปัจจุบัน มรณภาพกันปหมดแล้ว เท่าที่ทราบใน เวลานี้ จะมีเพียงหลวงปู่สุภาเพียงรูปเดียวในบรรดาศิษย์รุ่นเดียวกัน



เมื่อท่านเดินทางไปถึงแห่งหนตำบลใดก็มักจะสร้างประโยชน์สุขให้แก่ชุมชนนั้น ๆ เสมอ ไม่ว่าจะเป็น การก่อสร้างพุทธสถาน หรือสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ท่านก็ยินดีทำให้ด้วยความเต็มใจและ เห็นใจผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากเสมอ พุทธศาสนิกชนที่รับทราบจึงเคารพศรัทธาท่านเป็นอันมาก ไม่เพียงแต่ ในประเทศไทยเท่านั้นที่ท่านเดินทางไป ในแถบทวีปเอเชียท่านก็ธุดงควัตรไปเกือบทุกประเทศ ไม่ว่า จะเป็น ลาว เวียดนาม สิงค์โป มาเลเซีย ฯลฯ ไปถึงจีน อินเดีย และประเทศในทวีปยุโรป

หลวงปู่สุภาธุดงค์มาทางภาคใต้ของประเทศไทย และนิยมชมชอบสถานที่ใน จ.ภูเก็ต คราแรกท่าน มาปักกลดที่เขารัง จากนั้นจึงนั่งเรือข้ามฝั่งไปเกาะสิเหร่ปักกลดแสวงหาความวิเวกจนมาพบพื้นที่ แปลงหนึ่ง เจ้าของที่ชื่อ ?แป๊ะหลี? ซึ่งมีความเลื่อมใสในวัตรปฏิบัติของหลวงปู่ จึงถวายที่ดินเพื่อ สร้างวัด เป็นวัดแรกบนเกาะ เรียกว่า "วัดเกาะสิเหร่" เป็นการก่อสร้างที่มีความยากลำบากมาก เพราะอยู่บนเกาะ การเดินทางไปมาไม่สะดวก บวกกับชาวบ้านในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็น ?ชาวเล? ซึ่ง ไม่ซึมซาบในศาสนาพุทธ ท่านหลวงปู่ต้องใช้ทั้งปัญญา และกุศโลบายมากมายก่อนที่จะทำให้ชาวบ้าน ยอมรับ และซึมซับเอาพุทธศาสนาเข้าไปอยู่ในจิตใจ และปฏิบัติตามได้ สุดท้ายก็สำเร็จลุล่วงไปได้ โดยมีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่เป็นพระประธาน รวมเวลาก่อสร้าง 6 ปีเต็ม ได้ถวายเป็นพระราช กุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรม ราชินีนาถ การนี้ได้ทรงโปรดเกล้าพระราชทานแววพระเนตรมาประดิษฐานไว้ที่พระเนตรขององค์ พระพุทธไสยาสน์ด้วย จากนั้นท่านยังคงแบกกลดออกเดินทางต่อไป ด้วยจิตใจใฝ่สันโดษ จนกระทั่งท่านย้อนกลับมายังดินแดนภูเก็ตอีกครั้ง เมื่อมีอายุได้ 84 ปี สังขาร เริ่มโรยราและอาพาธอยู่บ่อยครั้ง ลูกศิษย์ของท่านจึงอยากให้ท่านปลดกลดละธุดงค์เสียจึงร่วมกันคิด และเห็นพ้องกันว่าควรตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นที่เขารัง และตั้งชื่อตามนามเจ้าของที่ดิน ว่า ?สำนักสงฆ์เทพ ขจรจิต? และก่อสร้างพระพุทธรูปปางประทานพรไว้บนยอดเขามีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดภูเก็ต สามารถมองเห็นได้แต่ไกล บ่อยครั้งเมื่อหลวงปู่อาพาธต้องเข้าทำการรักษาที่ รพ.วชิระ ท่านเห็นว่า พระสงฆ์ที่อาพาธต้องรักษาอยู่รวมกับคนป่วยทั่วไป ทำให้เกิดความไม่สะดวกแก่พระสงฆ์ เมือท่าน เห็นดังนั้นจึงสร้างตึกสงฆ์อาพาธขึ้นที่ รพ.วชิระ ทำให้การรักษาพยาบาลพระสงฆ์ทำได้ดีขึ้น นับ เป็นผลงานของท่านเมื่ออายุได้ 100 ปีพอดี สำนักสงฆ์เทพขจรจิตแห่งนี้นับเป็นสถานที่ที่ท่าน หลวงปู่พักอาศัยยาวนานที่สุด ด้วยความที่ท่านเป็นพระภิกษุที่ตั้งจิตอุทิศตนอยู่ภายใต้ร่มเงา ในพุทธศาสนาจึงคิดสร้างวัดขึ้นอีก แต่ด้วยเหตุว่าอาณาบริเวณบนยอดเขารังมีเนื้อที่ไม่เพียงพอท่านจึง เสาะหาสถานที่สร้างวัดแห่งใหม่ที่ตำบลฉลอง ดำเนินการเพียงสองปีก็สามารถก่อตั้งเป็นวัดได้ โดยได้ รับการโปรดเกล้าพระราชทานนามจากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถว่า ?วัดสีลสุภาราม? ได้จัดงานบุญสมโภชป้ายชื่อวัดไปเมื่อวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2546 ที่ผ่านมานี้เอง

ปัจจุบันหลวงปู่สุภายังมีชีวิตอยู่ด้วยวัย 113 ปี สุขภาพร่างกายแข็งแรงตามอัตภาพ และ ยังคงรักษาศีลภาวนาปฏิบัติธรรมตามภาระกิจของสงฆ์ดังเช่นปกติ ท่านยังเดินทางกลับไปบ้านเกิด ของท่านที่จังหวัดสกลนครอยู่เนือง ๆ ด้วยท่านสร้างวัดไว้ที่นั่น และที่สำนักสงฆ์เทพขจรจิตที่ท่านเป็น ผู้ริเริ่มก็กำลังก่อสร้างโบสถ์และกำลังจะได้รับการประกาศเป็นวัดในเร็ววันนี้เช่นกัน

ตลอดหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมาท่านจึงมีแต่คำว่า "ให้" และ "สร้าง" ทุกอย่างเพื่อ ประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวพุทธเสมอมา ท่านผ่านร้อน ผ่านหนาว มาหลายยุค หลายสมัย ผ่าน เหตุการณ์ ผ่านสังคมที่เปลี่ยนแปลงมามากมาย เห็นทั้งความดี และความชั่วมาหลายครั้ง หลายหน ผ่านกาลเวลามา 5 รัชสมัย 5 แผ่นดิน ท่านจึงสมควรได้รับคำยกย่องว่า "พระอริยะสงฆ์ห้าแผ่นดิน ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี" ความเพียร ความรู้ ความเมตตากรุณา ที่ท่านมีต่อสาธุชนแสดงผล ปรากฏให้เห็นอันเป็นนิรันดร ท่านคือธรรมจารีที่พุทธมามกะพึงเอาเป็นแบบอย่าง และควรภาคภูมิใจ ที่ท่านส่องแสงสว่างอยู่บนดินแดนอันเปรียบเสมือนไข่มุกแห่งท้องทะเลเบื้องอัสดงคต เปล่งประกายเจิด จรัส สว่างไสวขึ้นกลางใจสาธุชนด้วยชีวิต และ ลมหายใจ ของท่าน...หลวงปู่สุภา กันตะสีโล...

คาถาแมงมุมมหาลาภ หลวงปู่สุภา วัดสีลสุภาราม

นะโม (3 จบ)

สุวัณณะรัชชะตัง มหาสุวัณณะรัชชะตัง
อังคะตะเศรษฐี มหาอังคะตะเศรษฐี
มิคะตะเศรษฐี มหามิคตะเศรษฐี
ปุริเศษสาวา อิตถีวา พรหมณีวา มะอะอุมานิมามา

อ้างอิงจาก
1. http://www.g-pra.com/webboard/show.php?Category=general_talktalk&No=2983
2. http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=prapathep&date=21-08-2007&group=11&gblog=39